รักสามเส้าในร้านขายของ

รักสามเส้าระหว่าง แบรนด์ เจ้าของร้าน และลูกค้า ในร้านขายของ

การจัดวางสินค้าบนชั้นวาง หรือ shelf placement นั้น เป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานที่ทุกบริษัทเจ้าของแบรนด์ทราบดี เพราะมันคือจุดที่เกิดการ engagement ระหว่างผู้ซื้อสินค้ากับสินค้า และเป็นช่วงตัดสินว่า ผู้ซื้อสินค้าจะเอื้อมไปหยิบสินค้าของเราหรือของคู่แข่ง
หากมองลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว การจัดวางสินค้าบนชั้นวางนั้น มีผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายด้วยกัน และทั้ง 3 ฝ่ายก็มีเป้าหมายและมุมมองของสินค้าบนชั้นวางที่ต่างกัน ทั้ง 3 ฝ่ายที่ว่าได้แก่ บริษัทเจ้าของแบรนด์, ร้านค้า และ ผู้ซื้อ

เจ้าของแบรนด์

สําหรับเจ้าของแบรนด์ การจัดวางสินค้าบนชั้นวางนั้นไม่ใช่สักแต่จะวางสินค้าตนบนชั้นวางให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้ แต่ยังต้องคิดถึงกลยุทธต่างๆบนชั้นวางด้วย บริษัทใหญ่ๆที่มียอดขายมากๆมักใช้วิธีการต่อไปนี้

  • วางสินค้าข้างคู่แข่งแต่มีจํานวนแถวมากกว่าเพื่อแสดงว่าตนขายดีกว่า

  • วางสินค้าประเภทเครื่องดื่มในตู้เย็น เพราะจะมีรสชาติดีกว่า

  • วางสินค้าที่ออกใหม่ติดกับสินค้าขายดีที่สุดเพื่อให้คนเห็นสินค้ารสชาติใหม่ ตอนหยิบสินค้าประจํา

  • วางสินค้าที่กำลังมีโปรโมชั่นของตนติดกับของคู่แข่งเพื่อแย่งลูกค้า

  • วางสินค้าให้อยู่ในหมวดหมู่ที่ถูกต้อง เช่นนําผลไม้ออกานิค ไม่ควรวางรวมกับนํ้าอัดลม

  • วางป้ายราคาแบบโปรโมชั่นติดกับสินค้าเพื่อสื่อสารให้ชัดเจน

และอื่นๆ

"ZEEN Audit จะเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้าง retail sales data platform เพื่อให้ทีมขายของคุณสามารถมีอาวุธต่อสู้ในโลกยุคข้อมูลที่ใครๆก็ใช้ข้อมูลเข้ามาแก้ปัญหา ดีกว่าเดาจากความรู้สึกครับ"

ร้านค้า

ถามว่าทําไมเจ้าของร้านค้าถึงต้องทําตามที่แบรนด์บอกด้วย ทั้งๆที่ชั้นวางสินค้าก็เป็นของเจ้าของร้านนี่หน่า คําตอบคือการที่แบรนด์คิดกลยุทธ์การจัดเรียงมานั้น มันเหมือนช่วยงานร้านค้าไปแล้วกึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ถ้าแบรนด์คิดมาดีจนสามารถทําให้สินค้าของตนขายดีได้ มีหรือร้านค้าจะไม่ชอบ เพราะเจ้าของร้านก็จะได้อานิสงห์ไปด้วยคือร้านก็จะขายดีตามไป
 
แต่ถ้าอย่างนั้นทําไมเจ้าของร้านถึงไม่ปล่อยให้แบรนด์มาช่วยจัดสินค้าบนชั้นให้เลยหละ? คําตอบคือเพราะมีหลายแบรนด์และชั้นวางสินค้ามีจํากัดและ spot ดีๆของร้านค้านั้นก็มีน้อยในแต่ละร้าน ดังนั้นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงชั้นวางสินค้าจึงป็นการแข่งขันที่ดุเดือดมากๆ บางร้านใช้โอกาสตรงนี้เก็บเงินแบรนด์โดยให้แบรนด์ต้องจ่ายเงินเพื่อแย่งชิงพื้นที่ตรงนั้นมา ดังนั้นสําหรับแบรนด์ต้องวางแผนดีๆว่าร้านค้าไหนที่เราควรจะจ่ายตังค์เพื่อแลกกับการให้ traffic แถวนั้นเห็นสินค้าของตัวเองเยอะ
 

ลูกค้า


ลูกค้าคือคนที่แบรนด์และร้านค้าต้องศึกษาว่า Traffic ของคนที่อยู่แถวนั้นมีนิยมการซื้อของอย่างไร เป้าหมายหลักของลูกค้าส่วนใหญ่คือการเดินเข้าร้านและหยิบสินค้าที่ต้องการออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่ทําได้ เช่นถ้าอยู่ในตลาด สินค้าประเภทที่ควรเอามาแสดงให้เห็นและหยิบง่ายๆอาจเป็นพวกเครื่องปรุงหรือซอสขวดต่างๆ ถ้าอยู่แถวที่พักโรงแรม อาจเป็นพวกเครื่องใช้อุปโภคขนาดเล็กเช่น ยาสีฟัน หรือแชมพูแบบซองเล็กๆ
 
ในโลกที่การแข่งขันสูงขนาดนี้ ถามว่าแบรนด์ของคุณมีข้อมูลไหมครับว่า ร้านค้าที่ทางบริษัทลงทุนงบประมาณไปจัดเรียงสินค้า ติดสื่อ หรือแม้กระทั่งจ่ายตังค์ค่าเชลฟ์ไปเนี่ย ร้านไหนคุ้มร้านไหนไม่คุ้ม? หรือร้านค้าของเราเทียบกับของคู่แข่งเป็นอย่างไรกันแน่ หากไม่มีข้อมูลตรงนี้ก็เหมือนปิดตาวิ่ง ไม่รู้ไปถูกทางไหม
 
 
 

เครื่องมือที่ทําให้คุณมองเห็นทุกซอกทุกมุมของชั้นวาง

 

จุดนี้คือจุดที่ ZEEN Audit จะเข้ามาช่วย Track ข้อมูลทุกอย่างให้กับทีมขายของคุณด้วยระบบ AI แบบ Real-time รู้ผลตั้งแต่ทีมขายอยู่หน้างาน โดย ZEEN นั้นจะช่วย

  • วิเคราะห์การมีอยู่บนชั้นของสินค้าตนเองและคู่แข่ง (OSA) ของตนเองและคู่แข่ง

  • จํานวนขา (share of shelf) ของตนเองและคู่แข่ง

  • การจัดเรียงของสินค้า (Plan-o-gram) ของตนเองและคู่แข่ง

  • สื่อหน้าชั้นวางของสินค้าตน (POP and POSM)

  • บอกผลการจัดเรียงให้คนหน้างานรู้ได้ว่าทีมทําถูกหรือผิด (Retail Execution Rule)

  • คํานวณ KPIs ของทีม Field Sales และสํารวจตลาด (Time in outlet)

  • สามารถเปลี่ยนคําถามตามชนิดของร้านค้าได้ตาม segment ของร้าน

  • ตรวจสอบว่าการทํางานของ sales อยู่ในร้านที่ถูกต้องด้วย geofencing

และอื่นๆ แล้วนําข้อมูลทั้งหมดมา cross กันเพื่อสร้าง retail sales data platform เพื่อให้ทีมขายของคุณสามารถมีอาวุธต่อสู้ในโลกยุคข้อมูลที่ใครๆก็ใช้ข้อมูลเข้ามาแก้ปัญหา ดีกว่าเดาจากความรู้สึกครับ

  

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zeen Audit ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=6JAaT2r1_VY

 

หรือส่งอีเมลล์สอบถามได้ที่ info@zeen.cloud และ https://www.zeen.cloud/

 
 
 

#retailtechnology #retailaudit #OSA #Planogram #POP #POSM #FieldSales