Data-Driven Sales: นอกจากจะวัดผลทีม Sales แล้ว อย่าลืมวัดผลร้านค้าที่เข้าไปขายของด้วย

Data-Driven Sales: นอกจากจะวัดผลทีม Sales แล้ว อย่าลืมวัดผลร้านค้าที่เข้าไปขายของด้วย

ปัจจุบันทั่วประเทศไทยมีร้านสะดวกซื้อกว่า 20,000 ร้านค้า และร้านค้าโชห่วยมากกว่า 400,000 ร้านค้าทั่วประเทศ หนึ่งในปัญหาสุดหินของแบรนด์คือการกระจายสินค้าให้ไปขายยังจุดขายที่มีจํานวนเยอะมากๆ ดังนั้นหากแบรนด์ต้องการที่จะทําให้ยอดขายของตนเองอยู่ในระดับสูงเสมอแล้ว คุณต้องมีระบบบริหารจัดการการทํางานของ Sales ที่ดี

"แต่ถ้าคุณมองแต่การทํางานของทีมขายโดยไม่รู้เลยว่าร้านค้าที่ส่งคนเข้าไปขายนั้น มีความเป็นอยู่หรือมีสภาพอย่างไรแล้ว คุณก็เหมือนส่งขุนพลเข้าไปรบในสมรภูมิรบที่ไม่รู้จักภูมิประเทศเลย ซึ่งสุ่มเสี่ยงกับการพลาดเป้าได้อย่างมาก"

การเก็บข้อมูลเชิงลึกของทีมขาย

 
ปกติแล้วทีมบริหารของแบรนด์ต่างๆ จะให้ความสําคัญกับการควบคุมการทํางานของทีม Sales มาก โดยมักจะผูกเงิน incentive ไว้กับ KPI ของ Sales แต่ละคน รวมทั้งผูกขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง DC กระจายสินค้าของเขตนั้น ๆ เพื่อที่จะให้ Sales แต่ละคนทําตามนโยบายหรือกลยุทธ์การขายให้ได้ ซึ่งบริษัทส่วนมากก็จะวัดเกณฑ์ไม่กี่อย่าง เช่น จํานวนร้านค้าที่ visit, ความถี่ต่อเดือนที่ Sales สามารถเข้าไปได้ รวมกับยอดขายที่ทําได้ เป็นต้น

แต่ด้วย Tools หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยียุคใหม่แล้ว คุณสามารถ track performance ของทีมขายของคุณได้อย่างง่ายดาย และรอบด้านมากขึ้น

 
บริษัทที่ใช้ Zeen Audit จะสามารถเก็บข้อมูลและ performance ของ Sales ได้ละเอียดขึ้น เพื่อให้ทีมผู้บริหารสามารถเพิ่ม performance ของแต่ละคนได้ตรงจุดมากขึ้น เปรียบเสมือนนักกีฬาที่มีโค้ชที่ดีในการให้คําแนะนําได้ถูกจุดเสมอ คุณสามารถให้คะแนน Sales ตาม performance ตรงๆรอบด้านมากขึ้น เช่น
 

– % OSA ของสินค้าบนชั้นวาง

 

– Facing เฉลี่ยของสินค้าบนชั้นวาง

 

– % การจัดเรียงให้ตรงตาม plan-o-gram

 

– % การจัดเรียงให้ชนะคู่แข่ง

 

– % การสามารถติด POP/POSM

 

การสามารถ track performance ของ Sales และ DC แต่ละที่ได้อย่างทันท่วงทีแล้วก็จะทําให้ทีมบริหารแก้ปัญหา หรือ ‘จี้’ ได้ตรงจุดซึ่งทั้งหมดจะถูกคํานวณให้โดยอัตโนมัติด้วย AI technology

 

 

การเก็บข้อมูลเชิงลึกของร้านค้าที่เข้าไปขาย

อีกหนึ่งมาตรวัดที่วันนี้ Zeen จะขอนําเสนอที่หลายๆแบรนด์ชั้นนําใช้กัน และให้ Zeen ช่วยเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ให้คือ สภาพของร้านค้าที่ Sales เข้าไปขายสินค้า ซึ่งเป็นอีกจุดสำคัญที่แบรนด์มักมองข้าม

 

 

 

การเก็บข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ เรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับแบรนด์แต่ละแบรนด์ และในบางครั้งแบรนด์จะวัดสิ่งที่ต่างกันในร้านค้าเพื่อหาสิ่งที่ต่างกันออกไป ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะนํามาใช้เพื่อให้เข้าใจสภาพของร้านที่ทีมตนเข้าไปขายแล้ว ยังใช้เพื่อที่จะเข้าใจคู่แข่งด้วย ข้อมูลเหล่านี้ไม่ต่างจากการทําแผนที่การรบที่ทําให้การขายทํางานได้ดียิ่งขึ้น

 
 
 

บางแบรนด์อาจดูอัตราส่วนของการแสดงสินค้าของคู่แข่งเทียบกับของตนเอง (% Share of Shelf) และ track ตามช่วงเวลาในแต่ละเดือน ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกว่าหาก % Share of shelf ของสินค้าของตนลดลงเทียบกับคู่แข่งแล้ว อาจหมายถึงการที่คู่แข่งได้ทําการเลือกร้านค้านี้เป็น strategic POS หรือออกโปรโมชั่นเพื่อที่จะยึดพื้นที่การขายของเราก็ได้ Insight เหล่านี้จะทําให้ทีมขายสามารถรับรู้และหาวิธีโต้ตอบได้อย่างทันควัน

 
 
 

บางแบรนด์อาจดูอัตราส่วนการมีอยู่ของสินค้าแต่ละประเภทเทียบกัน เช่น ดูสินค้าแอลกอฮอล์เทียบกับนม UHT เพราะหากอัตราส่วนการขายแอลกอฮอล์เยอะกว่ามากๆแล้ว ทีมบริหารอาจจะจัดกลุ่มว่าร้านค้านี้เป็นร้านค้าที่ไม่เหมาะแก่การขายสินค้าสําหรับเด็กเพราะ demographic รอบๆไม่อํานวย จะได้นำไปตัดสินใจลงทุนได้ว่าควรไปต่อ หรือพอแค่นี้กับร้านประเภทนี้

 
 
 
 
 

ในจุดนี้ Zeen สามารถช่วยเก็บข้อมูลแบบ 360 องศาของสินค้าบนชั้นวางสินค้าในร้านค้า รวมถึงสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในร้านค้า และนําข้อมูลจํานวนมากมาคิดรวมกันให้เป็นคะแนน ตามเกณฑ์ที่บริษัทตั้งได้เลย เพื่อทําการวิเคราะห์เชิงตัวเลขให้ทางทีมขายสามารถตัดสินใจส่งขุนพลนักขาย เข้าไปเพิ่มยอดขายและชิงความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้อย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น

 

 

หากแบรนด์ใดสนใจที่จะทดลองใช้ ZEEN Audit หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

Email: panin@zeen.cloud

Tel: 089-056-5535

Line ID: jugggg